Purple Rainbow Over Clouds

หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน PHP

ฟังก์ชัน (Functions) คือ กลุ่มหรือชุดของคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่หนึ่งๆ เมื่อต้องการใช้งาน

ก็เพียงเรียกชื่อฟังก์ชันนั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที ฟังก์ชันใน PHP สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 
1) ฟังก์ชันมาตรฐาน (Built-in Functions) และ 2) ฟังก์ชันที่ผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเอง (User Defined Functions) มีรายละเอียด ดังนี้
  • ฟังก์ชันมาตรฐาน (Built-in Functions)

ฟังก์ชันมาตรฐาน คือ ฟังก์ชันที่มาพร้อมกับ PHP สามารถเรียกใช้งานได้ทันทีฟังก์ชันมาตรฐานมี
หลายกลุ่มการทำงาน สามารถจำแนกตามหน้าที่ ดังนี้
  1.  ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับวันที่และเวลา
  2.  ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการค านวณทางคณิตศาสตร์
  3. ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการติดต่อกับฐานข้อมูล
  4. ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการจัดการกับกับสตริงหรือข้อความ

การเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานของ PHP

ในการเรียกใช้งานฟังก์ชันจะต้องตรวจสอบก่อนว่าฟังก์ชันนั้นๆ เป็นฟังก์ชันเพื่อทำหน้าที่อะไร มี
การรับส่งค่าตัวแปรระหว่างฟังก์ชันหรือไม่ ถ้าไม่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน ก็สามารถเรียกใช้งานได้
เลย แต่ถ้ามีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน ก็จะต้องมีการระบุค่าพารามิเตอร์ ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ฟังก์ชันกำหนด
   ตัวอย่าง รูปแบบฟังก์ชันที่ไม่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
 function_name ( );
   ตัวอย่าง รูปแบบฟังก์ชันที่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
 function_name ($value1, $value2);
   ตัวอย่าง  การเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐาน 
<?php 
             $today = date("d/m/Y");           // เรียกใช้งานฟังก์ชัน date(); พร้อมระบุค่าอากิวเมนต์
             echo $today;                            // แสดงผลลัพธ์ เป็นวันที่ปัจจุบัน เช่น 6/7/2012 เป็นต้น 
?>
การสร้างฟังก์ชัน
ลักษณะของงานที่จะนำมาสร้างเป็นฟังก์ชันนั้น ควรเป็นงานหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
มักจะต้องทำซ้ำๆ และบ่อยครั้ง เพื่อให้ไม่ต้องเขียนคำสั่งหรือชุดคำสั่งนั้นๆ ทุกครั้งที่ต้องการทำงาน
แบบเดิม ซึ่งสามารถแยกคำสั่งบางส่วนออกมาสร้างเป็นฟังก์ชันไว้ต่างหากและนำมาทำเป็นฟังก์ชัน และ
เรียกใช้ตามลักษณะงานที่ต้องการ จะช่วยให้โค้ดคำสั่งของมีขนาดเล็กลง ช่วยลดการใช้ทรัพยากร และง่ายในการปรับปรุงแก้ไขในอนาคต เพราะสามารถแก้ไขเพียงครั้งเดียวก็จะมีผลทุกจุดที่เรียกใช้ฟังก์ชัน
รูปแบบ
<?php
              function ชื่อฟังก์ชัน (พารามิเตอร์)
             {
                          คำสั่ง;
             }
?>
** หมายเหตุ การตั้งชื่อฟังก์ชัน มีหลักเกณฑ์คล้ายกับการตั้งชื่อตัวแปร ดังนี้ 
- ต้องขึ้นต้นชื่อด้วย a-z หรือ _ เท่านั้น 
- ต้องประกอบด้วย a-z, 0-9 หรือ _ เท่านั้น 
- ต้องไม่ซ้ากับชื่อฟังก์ชันที่มีอยู่แล้วหรือฟังก์ชันมาตรฐานของ PHP 
พารามิเตอร์ คือ ตัวแปรหรือข้อมูลที่ต้องการรับจากภายนอกฟังก์ชันเข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชัน จะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจาเป็นต้องใช้หรือไม่

ฟังก์ชัน PHP (part2)

  • ฟังก์ชันที่ผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเอง (User Defined Functions)

ฟังก์ชันที่ผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเอง คือ กลุ่มของคeสั่งที่ผู้ใช้เป็นผู้เขียนหรือพัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อ
ทำงานหรือทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการจากที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น สรุปได้ว่า หลักๆ แล้วฟังก์ชันมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ทั้ง 2 ประเภท ก็จะมีฟังก์ชันที่ประกอบไปด้วย ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน และฟังก์ชันที่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน ค่าที่ใช้รับส่งระหว่างฟังก์ชัน จะเรียกว่า พารามิเตอร์ (parameter) หรือบ้างก็เรียกว่า อากิวเมนต์ (argument) 
การเรียกใช้ฟังก์ชันที่สร้างเอง
การเรียกใช้ฟังก์ชันที่สร้างเองสามารถทำได้เช่นเดียวกับการใช้ฟังก์ชันมาตรฐานของ PHP คือ ต้องระบุชื่อฟังก์ชันที่ต้องการใช้งานโดยระบุข้อมูลที่จะส่งให้กับฟังก์ชัน (ถ้ามี) ดังตัวอย่าง
  ตัวอย่าง การสร้างฟังก์ชัน 
<?php 
           function generateFooter ($msg)
           { 
                            printf ("<p><font color=red> %s <font></p>",$msg);
           } 
?>

  ตัวอย่าง  การเรียกใช้ฟังก์ชันที่สร้างเอง 
<?php 
               generateFooter ("Copyright 2012 Mr.Parinya Noidonprai"); 
?>

  • ฟังก์ชันแบบมีการส่งค่าพารามิเตอร์

พารามิเตอร์ คือ ข้อกำหนดในการรับข้อมูลของฟังก์ชัน โดยข้อมูลนั้นจะถูกนำไปใช้ประมวลผล
ภายในฟังก์ชัน พารามิเตอร์จะทำให้ฟังก์ชันมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน เพราะผลลัพธ์จะแปรเปลี่ยนไป
ตามค่าพารามิเตอร์นั้น วิธีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ มีดังนี้
          - พารามิเตอร์แบบกำหนดค่าเริ่มต้น (Default Parameter)
ในบางฟังก์ชันอาจใช้ค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจมีการเปลี่ยนไปใช้ค่าอื่น
บ้างในบางครั้ง ดังนั้นเพื่อความสะดวกจึงมีการกำหนดค่าพารามิเตอร์แบบกำหนดค่าเริ่มต้นขึ้น โดยจะ

กำหนดค่าพารามิเตอร์ที่ต้องใช้บ่อยๆ ไว้ล่วงหน้า หรือป้องกันปัญหาในกรณีที่ไม่ได้กหนดค่าพารามิเตอร์ให้กับฟังก์ชัน เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชันหากไม่มีการส่งค่าพารามิเตอร์มาให้ฟังก์ชัน ฟังก์ชันจะเรียกใช้ค่าเริ่มต้นที่กำหนดไว้ให้แทน รูปแบบการกำหนดพารามิเตอร์แบบกำหนดค่าเริ่มต้น มีรายละเอียด ดังนี
รูปแบบ
<?php
                function ชื่อฟังก์ชัน (ชื่อพารามิเตอร์ = ค่าเริ่มต้น) {
                           คำสั่ง;
                }

?>

ฟังก์ชัน PHP (part3)

  • พารามิเตอร์แบบส่งค่าและอ้างอิง (Passing Parameter by Value and Reference)

      ปกติแล้วค่าที่ถูกส่งไปยังฟังก์ชันจะเป็นแบบส่งค่า (by Value) คือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าของ
ตัวแปรภายในฟังก์ชันจะไม่ส่งต่อค่าตัวแปรตัวเดียวกันที่อยู่นอกฟังก์ชัน ทุกตัวอย่างก่อนหน้าในเรื่อง
ฟังก์ชันนี้ใช้วิธีการผ่านค่าพารามิเตอร์แบบส่งค่าทั้งหมด
       การส่งผ่านค่าแบบอ้างอิง (by Reference) นั้น หากในฟังก์ชันมีการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปร
ภายในฟังก์ชันจะส่งผลให้ค่าของตัวแปรที่อ้างอิงกันนอกฟังก์ชัน ทำให้มีค่าเปลี่ยนตามไปด้วย การส่งผ่านค่าแบบอ้างอิงสามารถทำได้โดยการใส่เครื่องหมาย & ไว้หน้าพารามิเตอร์ตัวที่ต้องการอ้างอิง
  • การส่งค่ากลับจากฟังก์ชันด้วยคำสั่ง return

เนื่องจากฟังก์ชันจะใช้ในการประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยฟังก์ชันมักจะถูกเรียกใช้โดยส่วน
ต่างๆ ของโปรแกรม เพื่อประมวลผลตามหน้าที่ต่างๆ ของฟังก์ชัน ในบางครั้งฟังก์ชันอาจจำเป็นต้องส่งค่าผลลัพธ์ของการทำงานกลับไปยังส่วนที่เรียกใช้ฟังก์ชันนั้นๆ หรือสามารถประยุกต์ใช้ส าหรับการตรวจสอบการทำงานของฟังก์ชัน เช่น ท างานปกติอาจส่งค่ากลับเป็นเลข 1 ท างานไม่ถูกต้องส่งค่ากลับเป็นเลข 2 หรืออื่นๆ ตามต้องการ เป็นต้น ส าหรับวิธีการส่งค่ากลับออกไปจะใช้ค าสั่ง return แล้วตามด้วยค่าที่ต้องการส่งออกไป 
   รูปแบบ

      return ค่าที่จะส่งกลับ;

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล ฐานข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ผลิตภัณฑ์ ใบสั่งซื้อ หรือสิ่งอื่นใดก็ได้ ฐานข้อมูลจำนวนมากเริ่มมาจากรายการในโปรแกรมประมวลผลคำหรือโปรแกรมกระดาษคำนวณ เมื่อรายการมีขนาดใหญ่ขึ้น ความซ้ำซ้อนและความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลจะเริ่มปรากฏขึ้น การดูข้อมูลในฟอร์มรายการเริ่มไม่เข้าใจ และมีข้อจำกัดในการค้นหาหรือดึงเซตย่อยของข้อมูลมาตรวจทาน เมื่อปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นการดีที่จะโอนถ่ายข้อมูลไปยังฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วยระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เช่น Office Access 2007

โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQLเป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย


โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน




โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรมFoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย



โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรมSQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่งSQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป





ฟิลด์

ฟิลด์ คือ กลุ่มของอักขระทีสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปที่นำมารวมกันแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ฟิลด์แต่ละฟิลด์ยังแยกออกเป็นประเภทข้อมูล ซึ่งจะบ่งบอกว่าในเขตฟิลด์นั้นบรรจุข้อมูลประเภทใดไว้ สามารถแยกประเภทของฟิลด์ได้เป็น 3 ประเภทคือ
          - ฟิลด์ตัวเลข (numeric field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวเลข ซึ่งอาจเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยมและอาจมีเครื่องหมายลบหรือบวก เช่น ยอดคงเหลือในบัญชีเป็นกลุ่มของตัวเลข
          - ฟิลด์ตัวอักษร (alphabetic field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวอักษรหรือช่องว่าง (blank)เช่น ชื่อลูกค้าเป็นกลุ่มของตัวอักษร
          - ฟิลด์อักขระ (character field หรือ alphanumeric field) ประกอบด้วย อักขระซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ที่อยู่ของลูกค้า
       ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฟิลด์ เป็นหน่วยย่อยของระเบียนที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูล เช่น ฟิลด์เลขรหัสประจำตัวบุคลากร ฟิลด์เงินเดือนของลูกจ้าง หรือฟิลด์เลขหมายโทรศัพท์ของพนักงาน ตัวอย่าง เช็คของธนาคารแห่งหนึ่งประกอบด้วย ชื่อที่อยู่ธนาคาร เช็คเลขที่ จ่ายจำนวนเงินเป็นตัวเลข จำนวนเงินเป็นตัวอักษร สาขาเลขที่ เลขที่บัญชี และลายเซ็น
 
       ฟิลด์บางฟิลด์อาจจะประกอบด้วยข้อมูลหลาย ๆ ประเภทรวมกันในฟิลด์ เช่น ฟิลด์วันที่ประกอบด้วย 3 ฟิลด์ย่อย ๆ คือ วันที่ เดือน และปี หรือในฟิลด์ชื่อธนาคาร ยังประกอบด้วยหลายฟิลด์ย่อย ๆ คือ ชื่อธนาคาร ที่อยู่ เมือง ประเทศ และรหัสไปรษณีย์

การกำหนดคุณสมบัติของฟิลด์ข้อมูล
•                  Field Size
            ในการกำหนดขนาดของฟิลด์ จะเป็นส่วนที่บอกถึงความยาวของข้อความที่สามารถป้อนลงไปได้ ซึ่งหากฟิลด์ข้อมูลที่สร้างขึ้น เช่น รหัส มีการป้อนข้อมูลลงไปเพียง 5 ตัวอักษร แต่ค่าเริ่มต้นในช่อง Field Size ของข้อมูลชนิดข้อความ กำหนดไว้เป็น 255 ตัวอักษร Access จะจองพื้นที่เก็บข้อมูลไว้ 255 จึงทำให้เป็นการเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ดังนั้นจึงควรกำหนดให้ขนาดของฟิลด์เหมาะสมกับการป้อนข้อมูลด้วย
•                  Format
            ใช้ในการกำหนดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งจะไม่มีผลกับข้อมูล และจะแตกต่างกันไปตามชนิดข้อมูล ทั้งข้อมูลชนิดข้อความ ตัวเลข หรือวันที่เวลา ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการกำหนดรูปแบบกับฟิลด์ข้อมูลที่เป็นชนิดข้อความ
•                  Decimal Place
            ใช้สำหรับกำหนดว่าจะให้แสดงจุดทศนิยมกี่ตำแหน่ง ซึ่งจะใช้ได้กับข้อมูลชนิด Numberและ Currency เท่านั้น
•                  Input Mask
            ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบในการป้อนข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการป้อนข้อมูล ซึ่งสามารถกำหนดโดยใช้เครื่องมือช่วย หรือจะกำหนดเองก็ได้ เช่น รูปแบบเบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น
•                  Caption
            ใช้กำหนดข้อความที่แสดงในส่วนหัวคอลัมน์ในมุมมองแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet View) หรือเป็นชื่อที่ปรากฏในฟอร์ม หรือรายงาน
•                  Default Value
            ใช้สำหรับกำหนดค่าเริ่มต้นของข้อมูลในฟิลด์ ถ้ามีการเพิ่มเรคคอร์ดใหม่ลงไปในตาราง ผู้ใช้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลที่ตรงกับค่าเริ่มต้นนี้
•                  Validation Rule
            ใช้สำหรับกำหนดเงื่อนไขสำหรับการป้อนข้อมูล เช่น ในฟิลด์นี้จะต้องป้อนข้อมูลเพียง 2 ค่าคือ หญิงและชายเท่านั้น ถ้าป้อนนอกเหนือจากนี้แล้ว จะแสดงกรอบหน้าต่างเตือน และไม่สามารถป้อนข้อมูลนอกเหนือจากที่กำหนดนี้ได้
•                  Validation Text
            ใช้สำหรับแสดงข้อความแจ้งเตือน เมื่อป้อนผิดเงื่อนไขในช่อง Validation Rule ซึ่งสามารถป้อนข้อความแจ้งเตือนได้ไม่เกิน 255 ตัวอักษร
•                  Required
            ใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติว่าผู้ใช้จำเป็นจะต้องป้อนข้อมูลลงไปในฟิลด์ที่กำหนดนี้หรือไม่ถ้าเลือก Yes จะต้องป้อนข้อมูลลงไปในฟิลด์ แต่ถ้าเลือก No ไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลก็ได้